3 ตะกร้าตัวช่วยเก็บออมเงิน 🧺💰
มีคำถามเข้ามาว่า “ควรจัดแบ่งเงินออมยังไงดี?” เพราะหลายคนเอาเงินออมไปกองไว้ในที่เดียวกัน แล้วก็หยิบใช้ และออมเพิ่มในที่เดียวกัน สุดท้ายเงินออมเลยไม่เติบโตสักที
.
วันนี้เลยอยากพูดถึงการ “แบ่ง” หรือ “จัดสรร” เงินออม สำหรับผู้ที่เริ่มออมเงินได้และมีเงินกับกันครับ
.
ที่จริงก่อนจะไปถึงเรื่องการจัดสรรเงินออม ก็ต้องชื่นชมก่อนครับ เพราะเอาเข้าจริงคนที่จะเก็บออมเงินได้ มีเงินออมให้บริหาร ในบ้านเราก็อาจเรียกได้ว่า “ครึ่งต่อครึ่ง” เลย
.
คือ ไม่มีเงินออมครึ่งนึง (รีบทำให้มีนะ) และอีกครึ่งคือมีเงินออม แต่ก็บริหารจัดการไม่ถูกต้อง เอาเงินออมทั้งหมดที่มีไปออมไว้ในที่เดียวกัน พอจะลงทุน ก็ยกโขยงไปลงทุนพร้อมกันทั้งหมด ที่ถูกต้องเราควรจัดสรรเงินออมที่มีออกจากกัน โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจจะใช้เงินก้อนนั้นในอนาคต
.
โดยส่วนตัวผมมักจะแนะนำคนที่มาเรียนด้วย ให้แบ่งเงินออมเบื้องต้น ออกเป็นสามตะกร้า ดังนี้ (มีมากกว่านี้ได้นะ ถ้ามีวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เก็บเงินซื้อของ เก็บเงินเรียนต่อ ฯลฯ อันนี้แล้วแต่ละบุคคลเลยครับ)
.
1. ตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน (Emergency Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเก็บเงินสำรองเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ที่อาจจะส่งผลกระทบกับการเงินของเรา เช่น ตกงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ฯลฯ เป็นตะกร้าเงินที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงปกป้องสภาพคล่องของการเงินเรา
.
ขนาดที่เหมาะสมของตะกร้านี้ คือ 6-12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน โดยควรเก็บออมในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องดี รักษามูลค่าได้ไม่ผันผวนมาก เช่นเงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือทองคำ
.
2. ตะกร้าเงินเกษียณรวย (Retirement Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเก็บสะสมเงินไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณจากการทำงาน เน้นทยอยสะสมและลงทุนในเครื่องมือกลุ่มตราสารการเงิน ใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน ลงทุนแบบระยะยาว เป้าหมายคือ มีกินใช้หลังเกษียณสบายๆ 20-25 ปี
.
เครื่องมือที่ช่วยเก็บเงินสำหรับตะกร้านี้ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) , กองทุนรวมต่างๆ (ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น), กองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี (RMF และ SSF), ประกันชีวิต ประกันบำนาญ หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ เป็นต้น
.
ที่ดีควรเริ่มต้นวางแผนเงินเกษียณนี้ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นทำงาน ควบคู่ไปกับการวางแผนชำระหนี้ให้หมดก่อนเกษียณ เริ่มต้นลงทุนทีละน้อยสร้างประสบการณ์ ที่สำคัญ! เงินก้อนนี้ห้ามแบ่งให้ใครเด็ดขาด เพราะมันคือเงินที่เราต้องเก็บไว้กินใช้ในวันที่รายได้ลดลง
.
3. ตะกร้าเงินเกษียณเร็ว (Money Freedom Basket)
.
ตะกร้านี้เป็นแหล่งเงินสะมที่จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด (Passive Income) เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว ทำให้หมดกังวลเรื่องการเงินได้ก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน
.
เป้าหมายของตะกร้านี้คือ รายได้จากทรัพย์สิน (Passive Income) มากกว่ารายจ่ายรวมต่อเดือน (Total Expenses) เครื่องมือที่ช่วยของตะกร้าเกษียณเร็วก็คือ ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ให้รายได้เราในรูปแบบ ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า และค่าลิขสิทธิ์ (หรือปัจจุบันจะมาในรูปแบบค่าโฆษณาก็ได้)
.
ทั้งหมดนี้คือ ตะกร้าเงินพื้นฐานที่ควรจะจัดแบ่งเงินออมไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ดี แต่ละคนมีความต้องการแต่ปัจเจก แตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นหากจะมีตะกร้าเงินอื่นๆ เพิ่มเติมจากนี้ หรือแบ่งเงินแตกต่างไปจากนี้ ก็ไม่ถือว่าผิดกติกา
.
ยังไงลองวางแผนจัดการเงินออมของตัวเองดูนะครับ หวังว่าแนวทางข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ
#TheMoneyCoachTH
「ตราสารหนี้ คือ」的推薦目錄:
ตราสารหนี้ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เมื่อ Bill Gross ราชาแห่งพันธบัตร กำลังบอกว่า พันธบัตรคือขยะ /โดย ลงทุนแมน
เราอาจแปลกใจถ้ามีคนพูดว่า “การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
แต่เราคงตกใจยิ่งกว่านั้น เมื่อรู้ว่าคนที่พูดประโยคนั้นคือ หนึ่งในนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ที่มีชื่อว่า บิลล์ กรอสส์ เจ้าของฉายา “ราชาแห่งพันธบัตร”
พันธบัตรเป็นหนึ่งตัวแทนของสินทรัพย์ทางการเงิน
ที่หลายคนมองว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ
แต่ทำไมตอนนี้ บิลล์ กรอสส์ ถึงมองว่า การลงทุนในพันธบัตร คือการลงทุนในขยะ..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้น หลายคนคงนึกถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
แต่ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดพันธบัตร เราจะต้องพูดถึง บิลล์ กรอสส์ (Bill Gross)
บิลล์ กรอสส์ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ และประสบความสำเร็จ จนได้รับฉายาว่า “Bond King” หรือ “ราชาแห่งพันธบัตร”
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจัดการลงทุน
ที่ชื่อว่า Pacific Investment Management Company หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PIMCO ซึ่งปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทจัดการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
PIMCO มีการลงทุนที่หลากหลายตั้งแต่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุน ETF กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และไพรเวทอิควิตี้
จากจุดเริ่มต้นของ PIMCO ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารไม่ถึง 400 ล้านบาท ในปี 1971 ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่า 72 ล้านล้านบาท ในปี 2020
โดยการลงทุนที่สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเขาในฐานะผู้จัดการกองทุนอย่างมาก คือการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
ในปี 2010 Morningstar องค์กรที่ให้บริการข้อมูลและจัดอันดับเปรียบเทียบกองทุนรวมทั่วโลก ระบุว่า “ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนไหนอีกแล้ว ที่จะสามารถทำเงินจากการลงทุนในตราสารหนี้ ได้มากกว่า บิลล์ กรอสส์”
แต่ประเด็นน่าสนใจที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คือ
บิลล์ กรอสส์ ได้ออกมาบอกว่า
“การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
ทำไมราชาแห่งพันธบัตร ถึงพูดแบบนี้ ?
เราลองมาทำความเข้าใจกับ ลักษณะที่สำคัญของตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนกันก่อน
ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
หรือพูดอีกมุมหนึ่งคือ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ที่ออกตราสารหนี้นั้น
จุดเด่นสำคัญของตราสารหนี้ คือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น
ยิ่งถ้าผู้ที่ออกตราสารดังกล่าว เป็นรัฐบาลที่มีเครดิตดี และโอกาสน้อยมากที่จะผิดนัดจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือตราสาร ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ก็ยิ่งต่ำ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีความเสี่ยง
เพราะนอกจากความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้แล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “ความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น”
อธิบายกลไกของตราสารหนี้ง่าย ๆ คือ
ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยจะสวนทางกัน
หมายความว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง
ทีนี้ย้อนกลับมาถึงในสิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ พูดไว้ข้างต้น ซึ่งเขามองว่า การลงทุนตราสารหนี้เริ่มไม่น่าสนใจ เนื่องจาก
- นโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) หรือที่เรียกว่าการทำ QE กำลังจะลดขนาดลง
การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ทางการเงินหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงหลายปีที่ผ่านนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการอัดฉีดเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา
โดย Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อจำนองค้ำประกันของ Fed รวมกันเดือนละประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท อย่างต่อเนื่อง
เรื่องนี้ทำให้ราคาพันธบัตรเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอเมริกา อายุ 10 ปี นั้นลดลง ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวเคยลดลงไปเหลือเพียง 0.5% ในช่วงกลางปี 2020
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบลง หรือที่เรียกว่า QE Tapering
ซึ่งเม็ดเงินที่ลดลงนี้ หมายความว่า ปริมาณการซื้อตราสารหนี้มีแนวโน้มจะลดลง จนทำให้ความน่าสนใจในตราสารหนี้ ลดลงไปด้วย
- แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เราอยู่ในจุดที่อัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำมาเป็นเวลานานพอสมควร ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 0% หรือแม้แต่ติดลบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาเติบโตเหมือนเดิม
แต่สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจคือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นเร็วจนเกินไป ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น Fed ก็ต้องมีมาตรการมาควบคุม ไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วจนเกินไป
หนึ่งในวิธีที่ทำกันมานาน ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ดอกเบี้ยในภาพรวมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและชะลอเงินเฟ้อได้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนหรือคนที่ถือพันธบัตรอยู่ในปัจจุบัน พอเห็นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาก็จะเริ่มทยอยขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกมา เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ชุดใหม่ ๆ ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
เมื่อมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนมาก ก็จะทำให้ราคาตราสารหนี้นั้นปรับตัวลดลง จนทำให้ผู้ที่ถือตราสารหนี้ โดยเฉพาะยิ่งเป็นตราสารหนี้ระยะยาวอาจจะขาดทุนหนักได้
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ยังทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ) จะยิ่งลดลงไป ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการถือตราสารหนี้ ลดลงไปอีก
เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะทำให้มีแรงเทขายตราสารหนี้ออกมาในปริมาณมาก จนอาจทำให้หลายคนที่ลงทุนในตราสารหนี้อยู่ ต้องขาดทุนอย่างหนักมากกว่าเดิมก็เป็นได้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ คาดการณ์ไว้เช่นนี้ จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็ต้องยอมรับว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ กำลังจะต้องเจอความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่กำลังจะปรับตัวขึ้นหลังจากนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-09-01/bill-gross-says-bonds-are-investment-garbage-just-like-cash
-https://www.investopedia.com/terms/w/william-h-gross.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bill_H._Gross
-https://www.ft.com/content/f1a48ac2-36fb-4e7f-8d23-71477f1fc0a4
-https://www.sunsigns.org/famousbirthdays/d/profile/bill-gross/
ตราสารหนี้ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก CFA ใบเบิกทางขั้นสูง ของการทำงาน ด้านการเงิน /โดย ลงทุนแมน
สำหรับคนที่ทำงานในสายการเงิน การลงทุน
นอกเหนือจากความรู้ที่ร่ำเรียนกันมาในสมัยมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีอีกหนึ่งหลักสูตร ซึ่งเป็นคุณวุฒิด้านการเงิน การลงทุน ที่สำคัญ และถือว่ามีมาตรฐานจนได้รับการยอมรับในระดับสากล
คุณวุฒิดังกล่าว มีชื่อว่า “Chartered Financial Analyst” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “CFA”
CFA คืออะไร ทำไมคนที่เอาจริงเอาจังในด้านการเงิน การลงทุน ถึงอยากจะมีคุณวุฒินี้ มาต่อท้ายชื่อ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
คุณวุฒิ CFA ถูกพัฒนาขึ้น โดยสถาบันที่มีชื่อว่า “CFA Institute” ของสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่สามารถใช้คุณวุฒิดังกล่าวได้นั้น ต้องมีการสอบผ่านโปรแกรม CFA มาก่อน
ซึ่งเนื้อหาสาระของโปรแกรมนี้ จะเกี่ยวข้องกับวิชาด้านการเงินและการลงทุน โดยครอบคลุมหลายหลากหัวข้อ เช่น
- สถิติ และทฤษฎีความน่าจะเป็น
- ตราสารทางการเงิน
- เศรษฐศาสตร์
- การบริหารการเงิน และวิเคราะห์ทางการเงิน
- การลงทุนทางเลือก การจัดการพอร์ตโฟลิโอ จรรยาบรรณ และความรู้ทั่วไปในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน
ความเข้มข้นในหลักสูตรของ CFA นั้น บางคนถึงขนาดบอกว่า มีระดับความยากกว่าหลักสูตรด้านการเงินและการลงทุน ที่สอนกันในระดับมหาวิทยาลัยหลายเท่าเลยทีเดียว
การสอบ CFA จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ระดับ แต่ละระดับจะมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป โดยระดับที่ 1 คือง่ายสุด และระดับที่ 3 ถือว่ายากที่สุด
โดยเนื้อหาแต่ละระดับสามารถสรุปได้คร่าว ๆ คือ
- CFA ระดับ 1: จะเน้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการลงทุน เช่น การแนะนำการประเมินมูลค่าสินทรัพย์, การรายงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน, เทคนิคการจัดการพอร์ตโฟลิโอ, จรรยาบรรณในการทำงานด้านการเงินและการลงทุน
- CFA ระดับ 2: จะเน้นความรู้ที่เจาะลึกมากขึ้นจาก CFA ระดับ 1 ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าสินทรัพย์, ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การรายงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน, วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการประเมินมูลค่าสินทรัพย์
- CFA ระดับ 3: จะเน้นการจัดการพอร์ตโฟลิโอ, คำอธิบายของกลยุทธ์ในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ, แบบจำลองการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ในการจัดการตราสารทุน ตราสารหนี้ และการลงทุนอนุพันธ์สำหรับนักลงทุนบุคคลและนักลงทุนสถาบัน
โดยผู้สอบ จำเป็นจะต้องสอบให้ผ่านระดับก่อนหน้าก่อน จึงสามารถสอบในระดับที่สูงกว่าได้
ที่ผ่านมามีการเก็บสถิติในการสอบผ่านโปรแกรม CFA และพบว่า
ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่คนส่วนใหญ่ใช้จนสอบผ่าน CFA ระดับ 3 จะอยู่ที่ประมาณ 4 ปี ซึ่งพอ ๆ กับระยะเวลาในการเรียนในระดับปริญญาตรี เลยทีเดียว
ในส่วนของค่าสอบนั้น สำหรับผู้ที่เข้าสอบครั้งแรก จะต้องจ่ายค่าแรกเข้าซึ่งจะเก็บเพียงครั้งเดียว และบวกด้วยค่าลงทะเบียนสอบในแต่ละระดับอีกส่วนหนึ่ง
- ค่าแรกเข้าประมาณ 15,000 บาท
- ค่าสมัคร อยู่ระหว่าง 22,750-33,500 บาท (กรณีลงทะเบียนเร็ว ค่าสมัครจะมีราคาถูกกว่า)
สมมติว่า เราต้องการสอบเพื่อให้ได้คุณวุฒิดังกล่าว
เราจะมีค่าใช้จ่ายในการสอบทั้ง 3 ระดับอยู่ที่ประมาณ 83,250-115,500 บาท ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เป็นกรณีที่เราสามารถสอบผ่านในแต่ละระดับ ภายในครั้งเดียว
ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราสามารถสอบผ่านจนครบ 3 ระดับแล้ว เรามีสิทธิ์ที่จะใช้คำว่า CFA ต่อท้ายจากชื่อและนามสกุลของเรา เมื่อมีคุณสมบัติอื่นครบถ้วน เช่น เป็นสมาชิกของ CFA Institute ที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมไปถึง มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้อง
ด้วยความที่คุณวุฒิ CFA นั้นได้รับการยอมรับในระดับสากล
อีกทั้งเนื้อหาและข้อสอบก็ถือว่ามีความเข้มข้นอย่างมาก
ดังนั้น คนที่ได้รับคุณวุฒิ CFA จะได้รับการยอมรับในแวดวงการเงิน การลงทุน มากพอสมควร
โดยผู้ที่ได้รับคุณวุฒิ CFA สามารถไปทำงานในสายการเงิน การลงทุนได้หลากหลาย
เช่น เป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์, นักวิเคราะห์ตราสารหนี้, วาณิชธนากร, นักวิเคราะห์การเงิน, ที่ปรึกษาทางการเงิน รวมไปถึงผู้จัดการกองทุน
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องของ ผลตอบแทน
ข้อมูลจาก CFA Institute ระบุว่า ผู้ที่สอบผ่านระดับ 3 และได้รับคุณวุฒิ CFA แล้วนั้น เมื่อเข้าไปทำงานจะมีรายได้เฉลี่ยต่อปี ราว ๆ 5.8 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 483,000 บาท (จากการสำรวจ Global)
แม้การสอบผ่าน CFA จะต้องใช้ความพยายาม ความมุ่งมั่นอย่างมาก เพื่อที่จะสอบให้ผ่านทั้ง 3 ระดับ
แต่ใครก็ตามที่สามารถสอบผ่าน และได้รับคุณวุฒิ CFA
นั่นเท่ากับเป็นการบอกถึงความเป็นมืออาชีพในสายการเงิน และการลงทุนของคนคนนั้นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเราก็คงสรุปได้ว่า CFA คือ ใบเบิกทางขั้นสูง
สำหรับคนที่มุ่งมั่นตั้งใจ และเอาจริงเอาจังกับงานด้านการเงิน การลงทุน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
CFA ถูกจัดสอบขึ้นครั้งแรกในปี 1963 จนถึงปัจจุบัน มีผู้มาสมัครสอบแล้วทั้งหมดรวมกันกว่า 3.3 ล้านคน
ซึ่งในจำนวนนี้มีคนที่สอบผ่าน CFA ระดับ 3 และสามารถขึ้นทะเบียนใช้คุณวุฒิ CFA อยู่ประมาณ 170,000 คน ทั่วโลก..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.set.or.th/professional/Download/knowledge/TSI-Article_Pro_002.pdf
-https://soleadea.org/cfa-2021
-https://en.wikipedia.org/wiki/Chartered_Financial_Analyst
-https://www.schweser.com/cfa/blog/become-a-cfa-charterholder/how-much-will-the-cfa-program-cost-me
-https://www.cfainstitute.org/en/programs/cfa/charterholder-careers
-https://www.cfainstitute.org/-/media/documents/support/programs/cfa/cfa-exam-results-since-1963.ashx
ตราสารหนี้ คือ 在 Bond Basic E-Learning ตอน รู้จักตราสารหนี้ - Facebook 的推薦與評價
⭐ ตราสารหนี้คือ อะไร? ⭐ตราสารหนี้มีกี่ประเภท? ⭐พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรออมทรัพย์ หุ้นกู้ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? รู้ได้ในคลิปนี้เลย ... ... <看更多>
ตราสารหนี้ คือ 在 ตราสารหนี้คืออะไร สรุปข้อมูลพื้นฐาน สำหรับนักลงทุนมือใหม่ - YouTube 的推薦與評價
ตราสารหนี้คือ อะไร สรุปข้อมูลพื้นฐาน สำหรับนักลงทุนมือใหม่ วันนี้เราจะมาคลายความสงสัยให้กับคนที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้/หุ้นกู้ ... ... <看更多>